กระบวนการในการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหานั้น จะต้องถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจไปสู่การนำไปสู่การนำไปปฏิบัติได้ การถ่ายทอดความคิดจะต้องมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และลำดับก่อนหลังที่ชัดเจน อาจอยู่ในรูปของข้อความที่เรียงกันเป็นลำดับซึ่งเรียกว่า รหัสลำลอง (pseudo code)
รหัสลำลอง เป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรม ซึ่งรูปแบบการเขียนจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความถนัดของผู้เขียน
ตัวอย่างที่ 1 รหัสลำลองการคำนวณพื้นที่รูปวงกลม
เริ่มต้น
1. รับค่ารัศมี
2. คำนวณพื้นที่รูปวงกลม จากสูตร พื้นที่รูปวงกลม = ค่าพาย x (ค่ารัศมี ยกกำลังสอง)
3. แสดงผลลัพธ์พื้นที่รูปวงกลม
จบ
ตัวอย่างที่ 2 รหัสลำลองการลงทะเบียนชุมนุมในเว็บไซต์โรงเรียน
เริ่มต้น
1. เปิดเว็บ
2. ป้อนข้อมูล และคลิกเข้าสู่ระบบ
3. คลิกปุ่มลงทะเบียนเรียน
4. คลิกลงทะเบียนชุมนุม
จบ
ตัวอย่างที่ 3 Pseudocode of the sums of 3 numbers
Start
1. input A
2. input B
3. input C
4. SUM = A + B + C
5. display SUM
End
การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาในรูปแบบรหัสลำลอง จะต้องมีจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และลำดับก่อนหลังที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ ลักษณะการทำงาน และลำดับในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยให้การแก้ปัญหา สามารถดำเนินการตามแผนการที่กำหนดไว้ พัฒนาโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และตรวจสอบได้